บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2018

สาขาย่อยของวิชาสัทศาสตร์​ ตอน​ สรีระสัทศาสตร์​

สาขาใหญ่​ขายดีขนาดนี้​ พี่เปิดสาขาย่อยละกันนะ สาขาย่อยของพี่สัทศาสตร์​มี​ 3​ สาขานะคะคุณ​ผู้ชม​ สาขาแรก​ คือ​ สรีระสัทศาสตร์​ Articulatory Phonetics​ ได้ยินคำว่าสรีระ​ ก็นึกถึง​ 34​ 24​ 35​  สูงร้อยก่าๆชอบมะๆ​ ของเจ้ฮาย​ อาภาภรณ์กันเลยทีเดียว​ พูดถึงสรีระก็ต้องว่าด้วยเรื่องอวัยวะ​ สัทศาสตร์​เป็นเรื่องของเสียง​ ดังนั้น​ สรีระสัทศาสตร์​ คือ​ ศาสตร์​ที่ว่าด้วยการศึกษาอวัยวะในการผลิตเสียง​ อวัยวะทำงานยังไง​ จอมยุทธกระแสลมมาจากไหน​ จากปอดไหม​ หรือจากไหน​ นะคะท่านผู้ชม

สัทศาสตร์​ Phonetics คืออะไร

สัทศาสตร์​ (สัด-ทะ-สาด)​ คือ​ ศาสตร์​ วิชาที่ศึกษาเสียงพูด​ ใช้อธิบายกระบวนการเปล่งเสียง​พูด​ เริ่มตั้งแต่​ speaker คิด​ คิด​ คิด​ ติ๊กต็อกต๊อกต็อก​ คิดออกแล้ว​ Brain ก็มาช่วย​ เอา​ ร่วมแรงแข็งขันกระตุ้นผ่านเส้นประสาท​ moter nerve ไปหากล้ามเนื้อที่ใช้ในการออกเสียง​ภายในเม้าท์ทูเม้าท์​ของเรา​ และแล้ว​ กระแสลมในช่องคอก็สำแดงเดชปะทะกับอวัยวะในช่องปาก​ ผลการต่อสู้​ก็คือ​ จะได้เสียงที่แตกต่างกันออกไป​ พลังคลื่นเสียง​sound wave จะถูกส่งไปยัง ears ของ​listener ประสาทหูของlistener จะกระตุ้น​เส้นประสาทความรู้สึก​sensory nerve​ ไปยังbrainของlistener แล้วbrainก็ทำหน้าที่เป็นtranslator​แปลความหมายให้  เป็น​อันเคลียร์​เข้าใจ

องค์ประกอบที่เล็กที่สุดของภาษาคืออะไร

องค์ประกอบส่วนที่เล็กที่สุดของภาษา​ คือ​ เสียง

เกร็ดความรู้ ตอน นักภาษาศาสตร์กลุ่มเดอะพอร์ท รอยัล The Port-Royal Circle กับไวยกรณ์ฝรั่งเศส

รูปภาพ
ราม     :  Bonjour พอวา  :  wow ภาษาฝรั่งเศสเหรอ ราม     :  ช่าย  เราไปลงเรียนมา สนุกดีนะ แต่ออกเสียงย้ากยาก  พอวา  :  เริศศศศศศอะ ราม     :  นี่พอวา ฝรั่งเศสมีนักภาษาศาสตร์ปะ พอวา  :  มีสิ ชื่อกลุ่มเดอะพอร์ท รอยัล เป็นปราชญ์ชาวฝรั่งเศสใน                     ศตวรรตที่ 17 กลุ่มนี้เค้ารวบรวมหลักไวยากรณ์ฝรั่งเศสสากล               แบบดั้งเดิมอะนะ แตกออกมาจากหลักการของพริสเซียนอะ               จำท่านพริสเซียนได้ป่าว ราม     :  จำได้ๆ คนที่ที่ทำไวยกรณ์ละติน พอวา  :   C'est bon ราม     : โห แปลว่าไรอะ พอวา พอวา  : แปลว่า เยี่ยมมาก ราม     :  Merci  http://th.nemoapps.com/phrasebooks/french ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือ ชื่อ กลไกภาษาศาสตร์ Introducing Linguistics ของ ทราสค์, อาแอล  ISBN 978-61...

เกร็ดความรู้ ตอน นักภาษาศาสตร์ พริสเซียน Priscian กับไวยากรณ์ละติน

รูปภาพ
เมื่อโรมันได้ชัยชนะเหนือกรีกในกลางศตวรรตที่ 2 ก่อนคริสตศักราช เมื่อนั้นนักปราชญ์ชาวโรมันจึงได้นำผลงานภาษากรีกมาปรับใช้กับภาษาตน และแล้ว ภาษากรีกและโรมันก็ถูกรวมเป็นหนึ่งเดียว โดยชายผู้มีชื่อเสียงและมีอิทธิพลมากที่สุด เขาคือ ท่านพริสเซียน นัก ไวยกรณ์ที่มีอายุอยู่ในช่วงราวคริสตศตวรรษที่ 5 ผลงานคำอธิบายหลักไวยกรณ์ละตินของท่านนั้นได้ถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนจวบจนถึงปัจจุบัน  ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือ ชื่อ กลไกภาษาศาสตร์ Introducing Linguistics ของ ทราสค์, อาแอล  ISBN 978-616-307-000-5

เกร็ดความรู้ ตอน นักภาษาศาสตร์ ไดโอนีซิอุส แทร็กซ์ Dionysius Thrax กับชนิดของคำ

รูปภาพ
พอวา : Hi! Ram. What are you doing? ราม    : I'm reading the book! and I've got a headache! พอวา : ไมปวดหัวอะ เป็นไร ราม    : เนี่ย นั่งท่องชนิดของคำอยู่ เดี๋ยวมีสอบ  พอวา : มาๆ เดี๋ยวเราช่วยติว  ราม    :  ชนิดของคำ Part of speech มีตั้ง 8 ใครคิดเนี่ย เยอะจัง พอวา : ไม่เยอะหรอกน่าาาา เดี๋ยวก็จำได้เข้าใจ ว่าแต่ใครเป็นคนคิด                อะเหรอ อยากรู้ป่าว ราม    :  ใครอะ อย่าบอกนะว่ารู้ พอวา :  ก็รู้อะเซ่ นักภาษาศาสตร์ที่เป็นผู้จำแนกคำในภาษากรีกเป็น 8              ชนิด คือ ท่านไดโอนีซิอุส แทร็กซ์ Dionysius Thrax ท่านมี                ชีวิตอยู่ในช่วง 170-90 ปีก่อนคริสตศักราช แล้วท่านก็เป็นผู้                  เสนอไวยากรณ์กรีกฉบับสมบูรณ์ฉบับแรกด้วยนะ แต่ปัจจุบัน                นำมาใช้แค่บางส่วนอะ ภาษากรีกโบราณส่วนมากจ...

เกร็ดความรู้ ตอน นักภาษาศาสตร์ อริสโตเติล Aristotle กับการแบ่งประโยค

รูปภาพ
ราม    :   พอวาๆ เราไปอ่านประวัติของท่านอริสโตเติลมา เจ๋งมากเลย               ท่านเป็นสุดยอดนักคิดระดับโลกเลยนะ  พอวา :  ว้าววว Cool อะ แล้วรู้ป่าว ท่านเป็นนักภาษาศาสตร์ด้วยนะ  ราม    :  จริงรึ พอวา :  จริงซิ ราม    :  แน่นะ พอวา :  อ๋อแน่ซิ ราม    : 555555555555555 ไหนว่ามา พอวา : จริงอยู่ว่าระบบภาษาศาสตร์มีต้นกำเนิดจากอินเดีย แต่ผู้ที่                   ประสบความสำเร็จในการวางรากฐานระบบภาษาศาสตร์แบบ               ยุโรป คือ กรีก  ท่านอริสโตเติลเป็นผู้แบ่งประโยคออกเป็น                   สองส่วน เรียกว่า ภาคประธานนนนนนน    (เสียงสูง)  subject                   และ ภาคแสดงงงงงงง    (เสียงสูง)  predicate ราม    : โหห ทำเสียงอย่างกะโอเปร่า   ภาคประธานน...

เกร็ดความรู้ ตอน นักภาษาศาสตร์ ปาณินิ Panini

      ราม    : เธอๆ เธอรู้จักนักภาษาศาสตร์บ้างไหม        พอวา : รู้จักสิ เธอ       ราม    : เล่าให้ฟังบ้างสิ รู้จักใครบ้าง        พอวา : ได้เล้ยยยย                    เมื่อกล่าวถึงนักภาษาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักและ                        ยอมรับ นักภาษาศาสตร์ชาวอินเดียที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง                    นั้นจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก ท่านปาณินิ ซึ่งท่านมี                          ชีวิตอยู่ราวศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตศักราช ในสมัยนั้น                          ชีวประวัติของท่านยังไม่ได้เป็นที่รู้จัก ต่อมาในภายหลัง                      ผลงาน ชิ้นโ...

ภาษาโบราณ ตอน อักษรธรรมอีสาน

      ไปทั่วถิ่นแคว้นแดนอีสาน อีสานบ้านเรา แต่โบราณกาลนั้น มีการใช้ อักษรธรรมอีสาน ซึ่งมีลักษณะคล้าย อักษรมอญ อักษรพม่า  และอักษรธรรมล้านนา ซึ่งอักษรธรรมอีสาน เป็นที่รู้จักในชื่อ อักษรธรรม หรือ หนังสือธรรม เมื่อพูดถึงความสำคัญแล้วไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอักษรขอมที่อยู้ในภาคกลางของประเทศไทยเลย  ซึ่งอักษรธรรมอีสานนี้ ใช้ควบคู่กับอักษรไทยน้อย แต่ว่ามีข้อแตกต่าง กล่าวคือ อักษรไทยน้อยใช้เขียนเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ หรือ ที่เรียกว่า คดีธรรม ผู้ที่สนใจศึกษาอักษรธรรมอีสาน สามารถศึกษาค้นคว้าได้จาก แบบเรียนหนังสือภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร พ.ศ. 2543 ISBN 974-7912-62-7

ภาษาโบราณ ตอน อักษรธรรมล้านนา

         'อักษรธรรมล้านนา' เมื่อได้ยิน คำว่า ล้านนา ผู้ฟังย่อมคิดถึงพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทย อักษรธรรมล้านนา หรือ เป็นที่รู้จักในชื่อ 'ตัวเมือง' หรือ 'หนังสือเมือง' มัีลักษณะคล้ายกับอักษรมอญ อักษรพม่า และอักษรธรรมอีสาน ในปัจจุบันมียังมีการใช้อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย เราสามารถพบเห็นอักษรธรรมล้านนาได้จากเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์โบราณ ประเภทหนังสือสมุดไทย และจารึก บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา วรรณกรรมประเภทต่างๆ ตำรายา ตำราโหราศาสตร์ กฎหมาย เป็นต้น  ผู้ที่สนใจศึกษาอักษรธรรมล้านนา สามารถศึกษาค้นคว้าได้จาก แบบเรียนหนังสือภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร พ.ศ. 2543 ISBN 974-7912-62-7

ตระกูลภาษาในประเทศไทย

        ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อ ชาติเชื้อไทย.... เอ๊ะ! แล้วประเทศไทย ดินแดนแห่งรอยยิ้ม land of smile บ้านเกิดเมืองนอนที่รักของเรานี่ เพลงที่ได้ยินตอนเช้าแปดโมงและตอนเย็นหกโมงเป็นภาษาไทย ภาษาประจำชาติ แต่ในชีวิตประจำวันเราก็ได้ยินภาษาไทยที่สำเนียงเสียงแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเดินไปซื้อส้มตำหน้าปากซอยบ้าน ไปซื้อผักที่ตลาด ไปเที่ยวต่างจังหวัด ต่างอำเภอ ภาษาที่ใช้ในแต่ละที่ล้วนเป็นภาษาไทยที่มีความหลากหลายและมีเสน่ห์ยิ่งนัก ด้วยเพราะประเทศไทยเรานั้นมีกลุ่มชาติพันธ์ุที่หลากหลาย ดังนั้นภาษาจึงมึความหลากหลายตามกลุ่มชาติพันธุ์นั้นๆ รวมๆแล้วจากที่ได้อ่านบทความเรื่อง 'สถานการณ์ทางภาษาในสังคมไทยกับความหลากหลากทางชาติพันธุ์' ของอาจารย์สุวิไล เปรมศรีรัตน์ ซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสารภาษาและวัฒนธรรม ปีที่ 25 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2549) ทำให้ได้ทราบว่า ประเทศไทยเรานี้มีภาษาทั้งหมด 70 กลุ่มภาษา OMG oh my gosh เยอะมาก 70 กลุ่มภาษา นี่ถ้าเอามาจัดตระกูล แบบว่าคนเรามีชาติมีตระกูล ภาษาก็มีตระกูลนะจ๊ะ ภาษาเหล่านั้นถูกจัดอยู่ในตระกูลภาษา 5 ตระกูล ตระกูลไหนใหญ่ไหนเล็กเดี๋ยวมาดูกัน 1 พี่ใหญ่...